วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557




                                     ชื่อ น.ส.ขวัญจิรา  บรรดิษฐ์
                                     ชั้นม.6/1  เลขที่3
                                     ชื่อเล่น มิน
                                     บ้านเลขที่ 178/3 บ.โนนสวาท ต.นาสวรรค์ อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ
                                     วิชาที่ชอบ วิทยาศาสตร์
                                     อาหารที่ชอบ มาม่า
                                     อนาคตอยากเป็น แพทย์

วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557

                                           
                                            ชื่อ น.ส. พิมลวรรณ        สิมมาลี

                                            ชั้น ม . 6/1         เลขที่12

                                            ชื่อเล่น แพน

                                           บ้านเลขที่ 48/1 บ. นาสวรรค์ ต. นาสวรรค์ อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ

                                           วิชาที่ชอบ คณิต-วิทย์

                                           อาหารที่ชอบ ก๋วยจั๊บ

                                           อนาคตอยากเป็น เภสัชกร

วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

                                                   

                                                   ชื่อ น.ส. ธัญลักษณ์         อุดรเขตร์
                                                 
                                                    ชั้น ม. 6/1               เลขที่8
                                            
                                                    ชื่อเล่น เมย์
             
                                                    บ้านเลขที่ 10/1 บ้านนาสวรรค์ ต.นาสวรรค์ อ. เมืองบึงกาฬ จ. บึงกาฬ

                                                    วิชาที่ชอบ ภาษาไทย

                                                    อาหารที่ชอบ ส้มตำ ข้าวมันไก่

                                                    อนาคตอยากเป็น คุณครู




                                                                                   
                                                  
                                         
 ประวัติความเป็นมาของภาษา PHP
          PHP เกิดในปี 1994 โดย Rasmus Lerdorf โปรแกรมเมอร์อเมริกันได้คิดค้นสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาเว็บส่วนตัวของเขา โดยใช้ข้อดีของภาษา และ Perl เรียกว่า Personal Home Page และได้สร้างส่วนติดต่อกับฐานข้อมูลที่ชื่อว่า Form Interpreter ( FI ) รวมทั้งสองส่วน เรียกว่า PHP/FI ซึ่งก็เป็นจุดเริ่มต้นของ PHP มีคนที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเขาแล้วเกิดชอบจึงติดต่อขอเอาโค้ดไปใช้บ้างและนำไปพัฒนาต่อ ในลักษณะของ Open Source ภายหลังมีความนิยมขึ้นเป็นอย่างมากภายใน ปีมีเว็บไซต์ที่ใช้ PHP/FI ในติดต่อฐานข้อมูลและแสดงผลแบบ ไดนามิกและอื่นๆ มากกว่า 50000 ไซต์
         PHP2 (ในตอนนั้นใช้ชื่อว่า PHP/FI) ในช่วงระหว่าง 1995-1997 Rasmus Lerdorf ได้มีผู้ที่มาช่วยพัฒนาอีก 2 คนคือ Zeev Suraski และAndi Gutmans ชาวอิสราเอล ซึ่งปรับปรุงโค้ดของ Lerdorf ใหม่โดยใช้ C++ ให้ มีความสามารถจัดการเกี่ยวกับแบบฟอร์มข้อมูลที่ถูกสร้างมาจากภาษา HTML และสนับสนุนการติดต่อกับโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล mSQL จึงทำให้ PHP เริ่มถูกใช้มากขึ้นอย่างรวดเร็ว และเริ่มมีผู้สนับสนุนการใช้งาน PHP มากขึ้น โดยในปลายปี 1996 PHP ถูกนำไปใช้ประมาณ 15,000 เว็บทั่วโลก และเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ต่อมาก็มผู้เข้ามาช่วยพัฒนาอีก 3 คน คือ Stig Bakken รับผิดชอบความสามารถในการติดต่อ Oracle, Shane Caraveo รับผิดชอบดูแลPHP บน Window 9x/NT, และ Jim Winstead รับผิดชอบการตรวจความบกพร่องต่างๆ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น Professional Home Pageในเวอร์ชั่นที่ 2
         PHP3 ออกมาในช่วงระหว่างเดือน มิุถุนายน 1997 ถึง 1999 ได้ออกสู่สายตาของนักโปรแกรมเมอร์ มีคุณสมบัติเด่นคือสนับสนุนระบบปฏิบัติการทั้ง Window 95/98/ME/NT, Linux และเว็บเซร์ฟเวอร์ อย่าง IIS, PWS, Apache, OmniHTTPd สนับสนุน ระบบฐานข้อมูลได้หลายรูปแบบเช่น SQL Server, MySQL, mSQL, Oracle, Informix, ODBC
         PHP4 ตั้งแต่ 1999 - 2007 ซึ่งได้เพิ่ม Functions การทำงานในด้านต่างๆให้มากและง่ายขึ้นโดย บริษัท Zend ซึ่งมี Zeev และ Andi Gutmans ได้ร่วมก่อตั้งขึ้น ( http://www.zend.com ) ในเวอร์ชั่นนี้จะเป็น compile script ซึ่งในเวอร์ชั่นหน้านี้จะเป็น embed script interpreter ในปัจจุบันมีคนได้ใช้ PHP สูงกว่า 5,100,000 ไซต์ แล้วทั่วโลก และ ผู้พัฒนาได้ตั้งชื่่อของ PHP ใหม่ว่า PHP: Hypertext Preprocessor ซึ่งหมายถึงมีประสิทธิภาพระดับโปรเฟสเซอร์สำหรับไฮเปอร์เท็กซ์           PHP5 ตั้งแต่ 2007-ปัจจุบัน มี ได้เพิ่ม Functions การทำงานในด้านต่าง ๆ เช่น    * Object Oriented Model
    * การกำหนดสโคป public/private/protected
    * Exception handling
    * XML และ Web Service
    * MySQLi และ SQLite
    * Zend Engine 2.0


 รายชื่อของนักพัฒนาภาษา PHP ที่เป็นแก่นสำคัญในปัจจุบันมีดังต่อไปนี้ 
    * Zeev Suraski, Israel
    * Andi Gutmans, Israel
    * Shane Caraveo, Florida USA
    * Stig Bakken, Norway
    * Andrey Zmievski, Nebraska USA
    * Sascha Schumann, Dortmund, Germany
    * Thies C. Arntzen, Hamburg, Germany
    * Jim Winstead, Los Angeles, USA
    * Rasmus Lerdorf, North Carolina, USA


โครงสร้างของภาษา PHP
PHP คืออะไร
     ในช่วงแรกภาษาที่นิยมใช้งานบนระบบ เครือข่าย คือ ภาษา HTML (Hypertext Markup Language) แต่ภาษา HTML มีลักษณะเป็น Static คือ ภาษาที่มีลักษณะของข้อมูลคงที่ ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการในปัจจุบันที่นิยมใช้ระบบเครือข่าย Internet เป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างกัน ทำให้ต้องการใช้เว็บไซต์ที่มีลักษณะเป็นแบบ Dynamic คือ เว็บไซต์ที่ข้อมูลสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยอัตโนมัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ผู้เขียนเว็บไซต์เป็นผู้กำหนด และการควบคุมการทำงานเหล่านี้จะกระทำโดยโปรแกรมภาษาสคริปต์ เช่น ภาษา PHP ซึ่งเป็นภาษาหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน
     PHP ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ.1994 โดย Rasmus Lerdorf ต่อมามีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก จึงได้ออกเป็นแพ็คเกจ "Personal Home Page" ซึ่งเป็นที่มาของ PHP โดยภาษา PHP เป็นแบบ Server Side Script และเป็น Open Source ที่ผู้ใช้ทั่วไปสามารถดาวน์โหลด Source Code และโปรแกรมไปใช้ฟรี ได้ที่ http://www.php.net

     พอกลางปี ค.ศ.1995 เขาก็ได้พัฒนาตัวแปลภาษา PHP ขึ้นมาใหม่ โดยใช้ชื่อว่า PHP/FI เวอร์ชั่น 2 ซึ่งได้เพิ่มความสามารถในการรับข้อมูลที่ส่งมาจากฟอร์มของ HTML (จึงมีชื่อว่า FI หรือ Form Interpreter) นอกจากนั้นยังเพิ่มความสามารถในการติดต่อกับฐานข้อมูลอีกด้วย จึงทำให้ผู้คนเริ่มหันมาสนใจ PHP กันมากขึ้น

     ในปี 1997 มีผู้ร่วมพัฒนา PHP เพิ่มอีก 2 คน คือ Zeev Suraski และ Andi Gutmans (กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า Zend ซึ่งย่อมาจาก Zeev และ Andi ) โดยได้แก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ และเพิ่มเติมเครื่องมือให้มากขึ้น

โครงสร้างของภาษา PHP
     ภาษา PHP มีลักษณะเป็น embedded script หมายความว่าเราสามารถฝังคำสั่ง PHP ไว้ในเว็บเพจร่วมกับคำสั่ง(Tag) ของ HTML ได้ และสร้างไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น .php, .php3 หรือ .php4 ซึ่งไวยากรณ์ที่ใช้ใน PHP เป็นการนำรูปแบบของภาษาต่างๆ มารวมกันได้แก่ C, Perl และ Java ทำให้ผู้ใช้ที่มีพื้นฐานของภาษาเหล่านี้อยู่แล้วสามารถศึกษา และใช้งานภาษานี้ได้ไม่ยาก
ตัวอย่างที่ 1
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
<html>
<head>
<title>Example 1 </title>
</head>
<body>

<?
   echo"Hi, I'm a PHP script!";
?>

</body>
</html>

     จากตัวอย่าง บรรทัดที่ 6 - 8 เป็นส่วนของสคริปต์ PHP ซึ่งเริ่มต้นด้วย <? ตามด้วยคำสั่งที่เรียกฟังก์ชั่นหรือข้อความ และปิดท้ายด้วย ?> สำหรับตัวอย่างนี้เป็นสคริปต์ที่แสดงข้อความว่า "Hi, I'm a PHP script" โดยใช้คำสั่ง echo ซึ่งเป็นคำสั่งที่ใช้ในการแสดงผลของภาษาสคริปต์ PHP ซึ่งจะแสดงผลดังนี้
 เราสามารถฝังคำสั่ง PHP ไว้ในเว็บเพจหนึ่งๆ โดยเปิดและปิดด้วยแท็ก(Tag) ของ PHP กี่ครั้งก็ได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่างที่ 2
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
<html>
<head>
<title>Example 1 </title>
</head>
<body>

<table border=1>
<tr>
<td>
<? echo"PHP script block 1"; ?></td>
<td>
<? echo"PHP script block 2 "; ?></td>
</tr>
</table>

<?
   echo"PHP script block 3 <br> ";
   echo date("ขณะนี้เวลา H:i น.");
?>

</body>
</html>

แสดงผลลัพธ์

ความสามารถของภาษา PHP
  • เป็นภาษาที่มีลักษณะเป็นแบบ Open source ผู้ใช้สามารถ Download และนำ Source code ของ PHP ไปใช้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  • เป็นสคริปต์แบบ Server Side Script ดังนั้นจึงทำงานบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ ไม่ส่งผลกับการทำงานของเครื่อง Client โดย PHP จะอ่านโค้ด และทำงานที่เซิร์ฟเวอร์ จากนั้นจึงส่งผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาที่เครื่องของผู้ใช้ในรูปแบบของ HTML ซึ่งโค้ดของ PHP นี้ผู้ใช้จะไม่สามารถมองเห็นได้
  • PHP สามารถทำงานได้ในระบบปฎิบัติการที่ต่างชนิดกัน เช่น Unix, Windows, Mac OS หรือ Risc OS อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจาก PHP เป็นสคริปต์ที่ต้องทำงานบนเซิร์ฟเวอร์ ดังนั้นคอมพิวเตอร์สำหรับเรียกใช้คำสั่ง PHP จึงจำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ไว้ด้วย เพื่อให้สามารถประมวลผล PHP ได้
  • PHP สามารถทำงานได้ในเว็บเซิร์ฟเวอร์หลายชนิด เช่น Personal Web Server(PWS), Apache, OmniHttpd และ Internet Information Service(IIS) เป็นต้น
  • ภาษา PHP สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming)
  • PHP มีความสามารถในการทำงานร่วมกับระบบจัดการฐานข้อมูลที่หลากหลาย ซึ่งระบบจัดการฐานข้อมูลที่สนับสนุนการทำงานของ PHP เช่น Oracle, MySQL, FilePro, Solid, FrontBase, mSQL และ MS SQL เป็นต้น
  • PHP อนุญาตให้ผู้ใช้สร้างเว็บไซต์ซึ่งทำงานผ่านโปรโตคอลชนิดต่างๆ ได้ เช่น LDAP, IMAP, SNMP, POP3 และ HTTP เป็นต้น
  • โค้ด PHP สามารถเขียน และอ่านในรูปแบบของ XML ได้ 

    คุณสมบัติ

    การแสดงผลของพีเอชพี จะปรากฏในลักษณะHTML ซึ่งจะไม่แสดงคำสั่งที่ผู้ใช้เขียน ซึ่งเป็นลักษณะเด่นที่พีเอชพีแตกต่างจากภาษาในลักษณะไคลเอนต์-ไซด์ สคริปต์ เช่น ภาษาจาวาสคริปต์ ที่ผู้ชมเว็บไซต์สามารถอ่าน ดูและคัดลอกคำสั่งไปใช้เองได้ นอกจากนี้พีเอชพียังเป็นภาษาที่เรียนรู้และเริ่มต้นได้ไม่ยาก โดยมีเครื่องมือช่วยเหลือและคู่มือที่สามารถหาอ่านได้ฟรีบนอินเทอร์เน็ต ความสามารถการประมวลผลหลักของพีเอชพี ได้แก่ การสร้างเนื้อหาอัตโนมัติจัดการคำสั่ง การอ่านข้อมูลจากผู้ใช้และประมวลผล การอ่านข้อมูลจากดาต้าเบส ความสามารถจัดการกับคุกกี้ ซึ่งทำงานเช่นเดียวกับโปรแกรมในลักษณะCGI คุณสมบัติอื่นเช่น การประมวลผลตามบรรทัดคำสั่ง (command line scripting) ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสร้างสคริปต์พีเอชพี ทำงานผ่านพีเอชพี พาร์เซอร์ (PHP parser) โดยไม่ต้องผ่านเซิร์ฟเวอร์หรือเบราว์เซอร์ ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับ Cron (ใน ยูนิกซ์หรือลีนุกซ์) หรือ Task Scheduler (ในวินโดวส์) สคริปต์เหล่านี้สามารถนำไปใช้ในแบบ Simple text processing tasks ได้
    การแสดงผลของพีเอชพี ถึงแม้ว่าจุดประสงค์หลักใช้ในการแสดงผล HTML แต่ยังสามารถสร้าง XHTML หรือ XML ได้ นอกจากนี้สามารถทำงานร่วมกับคำสั่งเสริมต่างๆ ซึ่งสามารถแสดงผลข้อมูลหลัก PDF แฟลช (โดยใช้ libswf และ Ming) พีเอชพีมีความสามารถอย่างมากในการทำงานเป็นประมวลผลข้อความ จาก POSIX Extended หรือ รูปแบบ Perl ทั่วไป เพื่อแปลงเป็นเอกสาร XML ในการแปลงและเข้าสู่เอกสาร XML เรารองรับมาตรฐาน SAX และ DOM สามารถใช้รูปแบบ XSLT ของเราเพื่อแปลงเอกสาร XML
    เมื่อใช้พีเอชพีในการทำอีคอมเมิร์ซ สามารถทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่น เช่น Cybercash payment, CyberMUT, VeriSign Payflow Pro และ CCVS functions เพื่อใช้ในการสร้างโปรแกรมทำธุรกรรมทางการเงิน

    การรองรับพีเอชพี

    คำสั่งของพีเอชพี สามารถสร้างผ่านทางโปรแกรมแก้ไขข้อความทั่วไป เช่น โน้ตแพด หรือ vi ซึ่งทำให้การทำงานพีเอชพี สามารถทำงานได้ในระบบปฏิบัติการหลักเกือบทั้งหมด โดยเมื่อเขียนคำสั่งแล้วนำมาประมวลผล Apache, Microsoft Internet Information Services (IIS) , Personal Web Server, Netscape และ iPlanet servers, Oreilly Website Pro server, Caudium, Xitami, OmniHTTPd, และอื่นๆ อีกมากมาย. สำหรับส่วนหลักของ PHP ยังมี Module ในการรองรับ CGI มาตรฐาน ซึ่ง PHP สามารถทำงานเป็นตัวประมวลผล CGI ด้วย และด้วย PHP, คุณมีอิสรภาพในการเลือก ระบบปฏิบัติการ และ เว็บเซิร์ฟเวอร์ นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้สร้างโปรแกรมโครงสร้าง สร้างโปรแกรมเชิงวัตถุ (OOP) หรือสร้างโปรแกรมที่รวมทั้งสองอย่างเข้าด้วยกัน แม้ว่าความสามารถของคำสั่ง OOP มาตรฐานในเวอร์ชันนี้ยังไม่สมบูรณ์ แต่ตัวไลบรารีทั้งหลายของโปรแกรม และตัวโปรแกรมประยุกต์ (รวมถึง PEAR library) ได้ถูกเขียนขึ้นโดยใช้รูปแบบการเขียนแบบ OOP เท่านั้น
    พีเอชพีสามารถทำงานร่วมกับฐานข้อมูลได้หลายชนิด ซึ่งฐานข้อมูลส่วนหนึ่งที่รองรับได้แก่ ออราเคิล dBase PostgreSQL IBM DB2 MySQL Informix ODBC โครงสร้างของฐานข้อมูลแบบ DBX ซึ่งทำให้พีเอชพีใช้กับฐานข้อมูลอะไรก็ได้ที่รองรับรูปแบบนี้ และ PHP ยังรองรับ ODBC (Open Database Connection) ซึ่งเป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อฐานข้อมูลที่ใช้กันแพร่หลายอีกด้วย คุณสามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลต่างๆ ที่รองรับมาตรฐานโลกนี้ได้
    พีเอชพียังสามารถรองรับการสื่อสารกับการบริการในโพรโทคอลต่างๆ เช่น LDAP IMAP SNMP NNTP POP3 HTTP COM (บนวินโดวส์) และอื่นๆ อีกมากมาย คุณสามารถเปิด Socket บนเครื่อข่ายโดยตรง และ ตอบโต้โดยใช้ โพรโทคอลใดๆ ก็ได้ PHP มีการรองรับสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบ WDDX Complex กับ Web Programming อื่นๆ ทั่วไปได้ พูดถึงในส่วน Interconnection, พีเอชพีมีการรองรับสำหรับ Java objects ให้เปลี่ยนมันเป็น PHP Object แล้วใช้งาน คุณยังสามารถใช้รูปแบบ CORBA เพื่อเข้าสู่ Remote Object ได้เช่นกัน

    โปรแกรมที่ใช้พีเอชพีเป็นโครงสร้างหลัก

  • เวอร์แพส
  • จูมลา
  • ดรูปัล
  • พีเอชพีบีบี
  • มีเดียวิกิ
  • แมมโบ (ซอฟต์แวร์)

    ประโยชน์ของ PHP -- ข้อดีของ PHP
             PHP ได้กลายเป็นที่นิยมที่สุดเว็บภาษาเขียนโปรแกรมไม่เพียงเพราะฟรี PHP เป็นภาษาโปรแกรมเต็มที่ (เหมือน HTML เช่นซึ่งมีการนำเสนอวิธี) และการใช้งานที่ซับซ้อนมากสามารถเขียนมันมัน
    ประโยชน์ของงานเขียนใน PHP ก็คือการที่พวกเขาได้อย่างรวดเร็วและหากเขียนอย่างถูกต้องก็อาจจะปลอดภัยสวย นอกจากนี้ยังมีตันคริป PHP พร้อมและการทำงานซึ่งคุณสามารถปรับแต่งให้ความชอบและใช้ในโปรแกรม PHP ของคุณ
    การพัฒนา Web ได้กลายเป็นอุตสาหกรรมเจริญขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ ตั้งแต่อินเทอร์เน็ตและคลื่นคอมพิวเตอร์ทั่วไปจะกลายเป็นกำไรค่อนข้างพัฒนา เว็บไซต์ได้กลายเป็นอุตสาหกรรมที่เฟื่องฟูทุกคนต้องการเป็นส่วนหนึ่ง แต่ยังเป็นอุตสาหกรรมการแข่งขันสูงมากเนื่องจากมีผู้เชี่ยวชาญมากมายที่ค่อน ข้างเชี่ยวชาญในการเขียนโปรแกรม ดังนั้นการเรียนรู้ที่เหมาะสม PHP กลยุทธ์การพัฒนาจะเป็นประโยชน์ หากคุณมีความรู้ก่อนของภาษาคอมพิวเตอร์และการเข้ารหัส, PHP จะมาเป็นลักษณะที่สองเพื่อคุณ ความจริงที่สามารถใช้ในรูปแบบดั้งเดิมที่สุดของการเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐาน รวมทั้งการเขียนโปรแกรมขั้นสูงอย่างไม่น่าเชื่อโฆษณาเท่านั้นอาจเป็นไปได้ ของการเขียนโปรแกรม
    ก่อนการสร้างเว็บไซต์ที่คุณต้องรู้ภาษาที่คุณต้องการใช้ในเว็บไซต์มืออาชีพ PHP เป็นหนึ่งในดีที่สุดและง่ายต่อการใช้โปรแกรมภาษาที่สามารถเรียกใช้ระบบ ปฏิบัติการใด PHP เป็นภาษาฟรีเพื่อให้เป็นประโยชน์มากภาษานี้ สำหรับการจัดการการเชื่อมต่อฐานข้อมูลที่จัดรูปแบบสตริงแก้ไขการจัดการอีเม ลและ PHP ทั้งหมดจะมีประโยชน์มาก สามารถขยายได้อย่างง่ายดายสำหรับการทำงานบางอย่างที่คุณต้องการเพิ่มใน เว็บไซต์ของคุณ ความน่าเชื่อถือของภาษานี้เป็นพิเศษสามัญเป็น PHP แล้วทำงานในล้านของเซิร์ฟเวอร์ทั่วโลกซึ่งหมายความว่ามันมีประสิทธิภาพพอ สำหรับแม้สถานการณ์ความต้องการมากที่สุด ก็มีนักพัฒนาเว็บเสรีภาพมากขึ้นในการสร้างเว็บไซต์ที่มีคุณลักษณะบางอย่าง โดดเด่นและสามารถใช้องค์ประกอบปกติบ่อย PHP สามารถมากที่ประสบความสำเร็จในการสร้าง Dynamic เว็บไซต์ โปรแกรมเมอร์ PHP กับการใช้ประโยชน์รหัสเปิดแหล่งที่มาจากความยืดหยุ่นในการแก้ไข, การแก้ไขและปรับปรุงซอร์สโค้ดเมื่อมีการบังคับ
    PHP จะขึ้นอยู่กับภาษา C + + โปรแกรมและไวยากรณ์ที่ใช้ใน PHP เป็นธรรมคล้าย C, C + + มีชุมชนใหญ่ของนักพัฒนาที่ยังคงเชื่อว่า C / C + + ยังคงเป็นภาษาโปรแกรมที่ดีที่สุดคือ สำหรับเว็บไซต์ที่ทุกคนจะได้รับความคืบหน้าสมควรที่จะสามารถใช้ Content Management System เช่น Joomla, Word กดเป็นต้นที่นี่ PHP และ MySQL เป็นประโยชน์ในการทำงานประสบความสำเร็จ CMS มีจำนวนมากดังนั้น บริษัท ไอทีที่ให้มีคุณภาพดีที่สุดงาน PHP การพัฒนาเว็บจากอินเดีย เหตุผลในการพัฒนา Outsourcing PHP อินเดียคือว่าคุ้มค่ามากกับคุณภาพที่ดีขึ้น ในสาขาวิชาชีพของ Web และการบริการพัฒนาซอฟต์แวร์มีความจำนวนมากของชัยชนะที่มีทักษะและประสบการณ์ โปรแกรมเมอร์ PHP
    PHP ได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท เกือบทุกพื้นที่ PHP สามารถจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดเพื่อเรียกใช้โปรแกรมประยุกต์บนแพลตฟอร์ม hosting Linux based PHP เป็นด้านเซิร์ฟเวอร์ภาษาสคริปต์ออกแบบเดิมเพื่อสร้างเว็บไซต์แบบไดนามิก web Modern 2.0 โปรแกรมส่วนใหญ่มีลักษณะโดยข้อมูลผสมและคอมพิวเตอร์ส่วนติดต่อผู้ใช้แบบ php เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการโต้ตอบกับเว็บไซต์อื่น ๆ และให้ประสบการณ์การใช้งานมากมาย คำสั่ง php ง่ายเช่นขดหรือ fopen ช่วยให้คุณสามารถดึงข้อมูลจากเว็บไซต์อื่น ๆ ได้อย่างง่ายดายญาติ php ทำงานได้ดีกับ javascript เพื่อให้คุณสามารถให้ผู้ใช้ของคุณด้วยอินเตอร์เฟซที่ทันสมัยตอบสนองที่เกิน ทาง interfaces คงเดิมวันที่ผ่านมา

    ตัวอย่าง Code/Interface ของภาษา PHP

     
                     ตัวอย่างที่ 1
    <?php// Declare the interface 'iTemplate'interface iTemplate{
        public function 
    setVariable($name$var);
        public function 
    getHtml($template);
    }
    // Implement the interface
    // This will work
    class Template implements iTemplate{
        private 
    $vars = array();

        public function 
    setVariable($name$var)
        {
            
    $this->vars[$name] = $var;
        }

        public function 
    getHtml($template)
        {
            foreach(
    $this->vars as $name => $value) {
                
    $template str_replace('{' $name '}'$value$template);
            }

            return 
    $template;
        }
    }
    // This will not work
    // Fatal error: Class BadTemplate contains 1 abstract methods
    // and must therefore be declared abstract (iTemplate::getHtml)
    class BadTemplate implements iTemplate{
        private 
    $vars = array();

        public function 
    setVariable($name$var)
        {
            
    $this->vars[$name] = $var;
        }
    }
    ?>

     ตัวอย่างที่ 2
     
    <?phpinterface a{
        public function 
    foo();
    }

    interface 
    extends a{
        public function 
    baz(Baz $baz);
    }
    // This will workclass implements b{
        public function 
    foo()
        {
        }

        public function 
    baz(Baz $baz)
        {
        }
    }
    // This will not work and result in a fatal errorclass implements b{
        public function 
    foo()
        {
        }

        public function 
    baz(Foo $foo)
        {
        }
    }
    ?>
    ตัวอย่างที่ 3

    <?phpinterface a{
        public function 
    foo();
    }

    interface 
    b{
        public function 
    bar();
    }

    interface 
    extends ab{
        public function 
    baz();
    }

    class 
    implements c{
        public function 
    foo()
        {
        }

        public function 
    bar()
        {
        }

        public function 
    baz()
        {
        }
    }
    ?>


    วิธีการใช้งาน



    เริ่มต้นติดตั้ง

    1.       ติดตั้ง PWS4 ที่มากับแผ่น Win98 อยู่ใน Folder Add On ลงเครื่อง
    2.       Download ไฟล์ php-4.2.2-Win32.zip จาก www.php.net ซึ่งมีขนาดไฟล์ 5,275Kb
    3.       Unzip ไฟล์ php-4.2.2-Win32.zip ไปไว้ที่ Folder ใดๆ ตามต้องการ ในที่นี้ผมใช้เป็น C:\PHP
    4.       ให้ Copy ไฟล์ php.ini-dist ไปไว้ที่ folder windows ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น C:\Windows แล้วเปลี่ยนชื่อไฟล์เป็น php.ini
    5.       จากนั้นใช้โปรแกรม Notepad หรือ editor ใดๆ เปิดไฟล์ php.ini นี้ขึ้นมา ให้ search หาและแก้ไขบรรทัดที่เขียนว่า extension_dir โดยให้ชี้ไปที่ C:\PHP ดังนี้
    extension_dir = C:\PHP ; แล้วก็ save เก็บลงไป
    6.       ให้ Copy ไฟล์ MSVCRT.DLL และ PHP4TS.DLL ใน C:\PHP ไปไว้ที่ C:\Windows
    7.       ให้เปิด Registry Rditor ขึ้นมา โดยไปที่ปุ่ม Start/Run แล้วพิมพ์ regedit จากนั้นเปิดเข้าไปตามนี้
    HKEY_LOCAL_MACHINE /System /CurrentControlSet /Services /W3Svc /Parameters /ScriptMap
    7.1    Click ขวาที่ช่องด้านขวาของโปรแกรม และเลือก New -> String Value ให้พิมพ์ .php ลงไป
    7.2    Double click ที่ .php แล้วพิมพ์ c:\php\php4isapi.dll ลงในช่อง Value Data
    8.       ให้ Start PWS4 แล้วกำหนด Folder ที่จะ Run PHP โดยต้องกำหนดการ Access Folder นี้เป็นแบบ Execute ด้วย
    9.       หลังจากกำหนด Alias เพื่ออ้างอิงการ Run แล้ว ก็ทดสอบ script ได้เลยครับ

                    สมมติผมกำหนด Alias ชื่อ PHP เมื่อผมใช้ Editor เขียน Code PHP ขึ้นมา ที่ URL ผมก็พิมพ์
    http://localhost/php/test.php

    การเขียนภาษา PHP เบื้องต้น
    การวางตำแหน่งของ PHP Script
    การวางตำแหน่งของ Script สามารถแทรกลงในส่วนไหนของ HTML ก็ได้ โดยมีเครื่องหมาย
    <? เปิดสคริป และ ?> ปิดสคริป
    ตัวอย่าง
    <html>
    <head>
    <title>Test PHP</title>
    </head>
    <body>

    <center>
    <font face="MS Sans Serif" size=2>ทดสอบการแสดงผล</font>
    </center>

    <? echo "<center><font face=\"ms sans serif\" size=3>Test PHP Script</font></center>"; ?>

    </body>
    </html>

    การแสดงข้อความออกทาง Browser
    เราสามารถใช้คำสั่ง ในการแสดงผลได้ 2 คำสั่งคือ echo และ print ซึ่งสามารถใช้แทนกันได้ทันที โดยไม่ต้องเปลี่ยน syntax ใดๆ อีก
    ตัวอย่าง
    <?
    echo "<center><font face=\"ms sans serif\" size=3>Test PHP Script</font></center>";
    print "<center><font face=\"ms sans serif\" size=3>Test PHP Script</font></center>";
    ?>
    ผลที่ได้ :
    Test PHP Script
    Test PHP Script

    เราจำเป็นต้องใส่ \ ไว้ข้างหน้า " เพื่อป้องกันไม่ให้ PHP ตีความผิดว่า code บรรทัดนั้นสิ้นสุดแล้ว
    ถ้าไม่ใส่ \ แล้ว PHP จะตีความเป็น
    echo "<center><font face="
    มันจะเข้าใจว่าจบ code แล้ว ซึ่งคล้ายกับ Perl

    การใส่ Comment ภายใน Script
    การใส่ comment ทั้งแบบบรรทัดเดียว และหลายบรรทัด ให้ใช้ /* เปิดหัว และ */ เพื่อปิดท้าย comment
    การใส่ // หรือ # ไว้ข้างหน้าประโยคที่เป็น comment ได้เพียงบรรทัดต่อบรรทัดเท่านั้น
    ตัวอย่าง
    <?
    echo "test"; /* แสดงข้อความ text */
    /* comment หลายบรรทัด
    ก็สามารถทำได้ */
    echo "$sum"; // The summation of cost
    echo "$mem_id"; // ID of each member
    echo "$max_id"; # Maximun of member ID
    ?>

    การกำหนดตัวแปร
    การกำหนดตัวแปร (variable) และ operation
    ตัวอย่าง
    <?
    $num1=3;
    $num2=4;
    $sum=$num1+$num2;
    echo "<center><font face=\"ms sans serif\" size=3>$sum</font></center>";
    ?>
    ผลที่ได้ : 7
    หากใช้เป็น
    $num1='3';
    $num2='4';
    หรือ
    $num1="3";
    $num2="4";
                    ก็ยังได้ผลลัพท์เช่นเดิม เพราะ PHP มีความสามารถในการเปลี่ยน variable type จากตัวหนังสือ เป็นตัวเลขโดยอัตโนมัติ เนื่องจาก + เป็น operation ของตัวเลข
    ตัวอย่าง
    <?
    $char1='Today';
    $char2='is';
    $char3='Sunday.';
    echo "<center><font face=\"ms sans serif\" size=3>$char1 $char2 $char3</font></center>";
    ?>
    ผลที่ได้ : Today is Sunday.


    การแสดงผลต่อเชื่อมระหว่างตัวแปรและตัวหนังสือ
                    หากเราต้องการแสดงผลโดยใช้ข้อความที่กำหนด กับค่าที่ได้จากการ execute โปรแกรม ดังตัวอย่างเช่น
    การสร้างไฟล์ที่มีชื่อเป็นรหัสสมาชิก แล้วตามด้วยนามสกุล .txt
    เราใช้ . ในการเชื่อมระหว่าง variable และข้อมูลที่เป็น text
    ตัวอย่าง
    <?
    $filename='0001' /* สมมุติว่า 0001 คือรหัสที่ได้รับจาก Form ที่สมาชิกกรอก */
    echo $filename.".txt";
    ?>
    ผลที่ได้ : 0001.txt

    การใช้เงื่อนไข  
    การใช้ IF...ELSE Condition
    ตัวอย่าง
    <?
    $sum=10;
    if ($sum==0) {
    echo "Summation is 0";
    }
    else {
    echo "Summation = ". $sum;
    }
    ?>
    ผลที่ได้ : Summation = 10

    ในกรณีที่ไม่ใช้ else ก็สามารถทำได้เช่นกันครับ
    ตัวอย่าง
    <?
    $sum=0;
    if ($sum==0) {
    echo "Summation is 0";
    }
    ?>
    ผลที่ได้ : Summation = 0

    ส่วนกรณีที่มีหลาย Case ก็ใช้ else if เข้าช่วย
    ตัวอย่าง
    <?
    $a=5;
    $b=6;

    if ($a>$b) {
    print "a is bigger than b";
    }
    elseif ($b>$a) {
    print "a is not bigger than b";
    }
    else {
    print "a and b are the same";
    }
    ?>
    ผลที่ได้ : a is not bigger than b
    การใช้ Switch
    ตัวอย่าง
    <?
    $i=2;
    switch ($i) {
    case 0: print "i equals 0"; break;
    case 1: print "i equals 1"; break;
    case 2: print "i equals 2"; break;
    }
    ?>
    ผลที่ได้ : i equals 2

    การใช้ลูป  
    การใช้ While Loop
    ตัวอย่าง
    <?
    $i=1 // ให้ค่าเริ่มต้น
    while ($i<=5) {
    print $i;
    $i++;
    }
    ?>
    ผลที่ได้ : 12345

    ใช้ Do while ก็ได้ แต่ผลที่ได้ จะแตกต่างจาก While Loop ในบางกรณี เพราะจะทำงานภายใน loop ก่อนที่จะตรวจสอบ condition
    ตัวอย่าง
    <?
    $i=5 // ให้ค่าเริ่มต้น
    do {
    print $i;
    $i++;
    } while ($i<=5);
    ?>
    ผลที่ได้ : 5

    สรุปว่า
    กรณีที่ใช้ While...Loop จะทำการตรวจสอบเงื่อนไขก่อน แล้วจึงค่อยทำในลูป
    กรณีที่ใช้ Do...Loop จะทำคำสั่งในลูปก่อน แล้วจึงค่อยตรวจสอบเงื่อนไข
    คำสั่ง For Loop ก็จะทำงานเหมือนกับคำสั่ง While Loop คือ จะทำการตรวจสอบเงื่อนไขก่อน แล้วจึงค่อยทำงานในลูป
    ตัวอย่าง
    <?
    for ($i=1; $i <=5; $i++) {
    print $i;
    }
    ?>
    ผลที่ได้ : 12345
    Text ไฟล์  
    คำสั่งในการเปิดไฟล์
    คำสั่ง fopen()
    รูปแบบ : fopen(filename,mode);
    filename : ชื่อไฟล์ที่ต้องการจะเปิด
    mode : วัตถุประสงค์ในการเปิดไฟล์ ซึ่งเราสามารถระบุได้ เช่น ต้องการเปิดไฟล์เพื่ออ่าน หรือ เขียน
    โดยมีค่า mode ดังนี้
    r  หมายถึง เปิดไฟล์เพื่ออ่านอย่างเดียว เช่น ใช้ในการอ่านข้อมูลจากไฟล์
    r+ หมายถึง เปิดไฟล์เพื่ออ่านและเขียน
    w,w+ หมายถึง เปิดไฟล์เพื่อเขียนข้อมูลลงไป ถ้ามีไฟล์อยู่แล้วข้อมูลเดิมจะถูกลบหมดและถ้ายังไม่มีไฟล์ดังกล่าว ก็จะทำการเปิดไฟล์ใหม่ให้เลย
    a หมายถึง เปิดไฟล์เพื่อเพิ่มข้อมูล เช่น ในการเพิ่มข้อมูลใหม่ลงไป
    a+ หมายถึง เปิดไฟล์เพื่อเพิ่มข้อมูล เช่น ในการเพิ่มข้อมูลใหม่ลงไป และถ้ายังไม่มีไฟล์ ก็จะทำการสร้างใหม่ให้เลย

    ตัวอย่าง
    $fp = fopen("data.txt","r");

    หมายถึง ทำการเปิดไฟล์ที่ชื่อ data.txt เพื่ออ่านอย่างเดียว
    ตัวแปร $fp จะเป็นหมายเลขอ้างอิงไฟล์ที่เราเปิด

    คำสั่งในการเขียนข้อมูลลงในไฟล์
    คำสั่ง fputs() , fwrite()
    รูปแบบ : fputs(fp,text,[length]);
    รูปแบบ : fwrite(fp,text,[length]);
    fp : หมายเลขอ้างอิงไฟล์
    text : เป็นตัวแปรชนิดข้อความ หรือ ข้อข้อความที่จะใช้เขียนลงในไฟล์
    lenght : จำนวนตัวอักษรที่จะใช้เขียนลงไฟล์ จะระบุหรือไม่ก็ได้

    หมายเหตุ
    คำสั่ง fputs และ fwrite ทำหน้าที่เหมือนกัน
    และเมื่อเราทำการเขียนข้อมูลลงไฟล์จนเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราก็ต้องปิดไฟล์ทั้งหมดที่เราเปิดด้วยคำสั่ง
    fclose(fp);
    ตัวอย่าง
    <?
    $fp = fopen("mydata.txt","w");
    fwrite($fp,"สวัสดีครับเจ้านาย");
    fclose($fp);
    ?>
    ผลที่ได้ : จะได้ไฟล์ที่ชื่อว่า mydata.txt ซึ่งจะอยู่ในไดเรกทอรีเดียวกับ
    เว็บเพจที่ถูกเรียก และในไฟล์ mydata.txt จะมีข้อความว่า สวัสดีครับเจ้านาย อยู่ในนั้น

    คำสั่งในการอ่านข้อมูลจากในไฟล์
    คำสั่งที่ใช้ file_exists() , fgets() , file() , sizeof()

    เรามาดู 2 คำสั่งแรกกันก่อนครับ
    คำสั่ง file_exists() , fgets()
    รูปแบบ : file_exists(filename);
    รูปแบบ : fgets(fp,length);

    คำสั่ง file_exists() ใช้ในการตรวจสอบว่าไฟล์ที่เราจะเปิดนั้นมีอยู่จริงหรือไม่
    ส่วนคำสั่ง fgets() ใช้ในการอ่านข้อมูลจากไฟล์
    ตัวอย่าง
    <?
    $filename = "mydata.txt";
    if (file_exists($filename))
    {
    echo "มีไฟล์ที่ชื่อว่า $filename";
    $fp = fopen($filename,"r");
    while($data = fgets(fp,100))
    {
    echo $data;
    }
    }
    else
    {
    echo "ไม่มีไฟล์ที่ชื่อว่า $filename";
    }
    ?>

    ผลที่ได้ :
    อันดับแรก กำหนดให้ตัวแปรชื่อ $filename มีค่าเท่ากับ "mydata.txt"
    หลังจากนั้นก็จะทำการตรวจสอบว่ามีไฟล์ที่ชื่อว่า mydata.txt อยู่หรือไม่
    ถ้ามีไฟล์ดังกล่าวอยู่ ให้แสดงข้อความว่า มีไฟล์ที่ชื่อว่า mydata.txt
    และทำการวนลูปเพื่ออ่านข้อมูลจากไฟล์ขึ้นมาแสดง โดยให้เก็บไว้ที่ตัวแปรที่ชื่อว่า $data
    ซึ่งจะทำการเก็บครั้งละ 100 ตัวอักษร
    จะเห็นได้ว่า เราใช้ while...loop มาช่วยในการอ่านข้อมูลจาก text ไฟล์
    เมื่อ $data เท่ากับบรรทัดสุดท้ายของไฟล์ ซึ่งหมายความว่าอ่านข้อมูลจนหมดแล้ว
    ระบบจะส่งค่า EOF มาให้กับ $data ทำให้หลุดออกจาก loop และทุกครั้งที่สามารถ
    อ่านข้อมูลได้ ก็จะทำการแสดงข้อมูลที่หน้าจอด้วย

    และถ้าตอนแรกตรวจสอบแล้วไม่พบไฟล์ที่ชื่อว่า mydata.txt ก็ให้แสดงคำว่า
    ไม่มีไฟล์ที่ชื่อว่า mydata.txt
    ทำไมต้องกำหนดให้ length ในคำสั่ง fgets มีค่าเท่ากับ 100
    ก็เพราะว่าใน text ไฟล์ส่วนใหญ่ 1 บรรทัดจะมีไม่เกิน 100 ตัวอักษร
    และถ้าบรรทัดไหนที่มีไม่ถึง 100 ตัวอักษร ก็จะทำการอ่านเท่าที่มีอยู่ในแต่
    ละบรรทัดนั้นๆ ครับ :)

    วิธีการอ่านไฟล์อีกแบบโดยใช้คำสั่ง file() , sizeof()
    วิธีการนี้จะเป็นการอ่านไฟล์ทีละบรรทัดลงในตัวแปรอาร์เรย์
    รูปแบบ : file(filename);
    รูปแบบ : sizeof(array);
    ตัวอย่าง
    <?
    $filename = "mydata.txt";
    $line = file($filename);
    for($i=0 ; $i < sizeof($line) ; $i++)
    {
    echo $line[$i],"<br>"
    }
    ?>

    ผลที่ได้ :
    กำหนดให้ $filename มีค่าเท่ากับ "mydata.txt"
    ทำการอ่านข้อมูล แล้วนำมาเก็บในตัวแปรอาร์เรย์ที่ชื่อว่า $line
    ทำการวนลูป ตั้งแต่อาร์เรย์ลำดับที่ 1 จนไปถึงลำดับสุดท้าย
    แล้วทำการแสดงข้อมูลออกมา

    เราจะใช้คำสั่ง file(filename) เพื่อทำการอ่านข้อมูลจากไฟล์
    ทั้งไฟล์ไปเก็บไว้ในตัวแปรอาร์เรย์ แล้วทำการหาขนาดของตัวแปร
    อาร์เรย์จากคำสั่ง sizeof(array) จากนั้นถ้าเราต้องการแสดง
    ผลลัพธ์ ก็เพียงแค่นำค่าจากตัวแปรอาร์เรย์มาแสดง ครับ
     
        ผู้ที่จะเริ่มต้นเรียนรู้ในบทนี้ จำเป็นต้องมีความรู้การใช้ภาษา HTML + Dreamweaver เล็กน้อยมาบ้างนะครับ เพื่อความเข้าใจของตัวท่านเอง หากท่านยังไ่ม่มีความรู้ในภาษา HTML และ โปรแกรม Dreamweaver ลองถามอากู๋ก่อนนะครับ (อากู๋ = google) ใบบทเีรียนนี้จะใช้โปรแกรม Dreamweaver CS3 เป็นเครื่องมือในการเขียนภาษา PHP เพื่อยกตัวอย่างนะครับ เพราะฉนั้น ให้ท่านผู้ที่สนใจติดตั้งโปรแกรม DreamWeaver CS3 ลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านก่อน 1.วิธีใช้ภาษา PHP แทรกใน HTML
    เรามาทำความรู้จักกับ สัญลักษณ์ <?php ....... ?>เมื่อท่านต้องการใช้ ภาษา PHP ท่านจำเป็นต้องประกาศการเริ่มต้นใช้ และ สิ้นสุด เพาะมันเป็นมาตรฐาน ข้อกำหนดไว้ ให้เราทำตามครับ ยกตัวอย่างง่ายๆ

    <?php // เปิดการใช้ PHP
    //PHP script
    ?> <!-- ปิด -->

    ตัวอย่างการเปิดและปิดการทำงานของ PHP


    <? // เปิดการใช้ PHP
    //PHP script
    ?> <!-- ปิด -->

    ตัวอย่างการเปิดและปิดการทำงานของ PHP อีกแบบ

    2.Hello PHP
    ไม่รู้ว่าทำไมต้อง hello แต่ผมเคยเรียนเขียนโปรแกรมมาก็เริ่มต้นแบบนี้ ไม่ว่าจะเป็น C , Pascal เพื่อให้เรารู้วิธีเปิดเครื่องมือ และ แสดงผลของการทำงานภาษาที่เรากำลังศึกษาอยู่ดังนั้น จึงเป็นที่มาของ Hello PHP
    อันดับแรกที่ท่านต้องทำความเ้ข้าใจหลังจากลง Appserv เสร็จ ท่านต้องสร้าง โฟเดอร์เพื่อเก็บไฟล์ต่างๆไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ ไฟล์ flash และ PHP script ของเราครับ โดยตัวอย่าง การติดตั้ง PHP+Mysql ได้บอกกับท่านไว้แล้วนะ ช่วงท้ายๆ ว่าตัวอย่างนี้จะใ้ช้ D:\Appserv\www เป็นที่เก็บไฟล์ต่างๆของเว็บที่เราจะทำ หากบางท่านลงไว้ที่อื่น ก็ต้องเก็บไฟล์ต่างๆไว้ตามที่ท่านได้กำหนดตอนลงโปรแกรม


    2.1 สร้างโฟเดอร์ lesson1 ไว้ที่ D:\AppServ\www ครับ


    รูปที่ 1
    ตัวอย่างการสร้างโฟเดอ lesson1 ไว้ที่ D:\AppServ\www

    2.2 เปิด DreamWeaver CS3 แล้วเลือก ไฟล์นามสกุล PHP ครับ



    รูปที่ 2 ตัวอย่างการสร้างเอกสาร PHP ด้วยโปรแกรม DreamWeaver

    2.3 คลิกที่มุมมอง code ในโปรแกรม DreamWeaver แล้วพิมพ์ code PHP ตามตัวอย่างด่านล่าง
    <?
    echo"Hello PHP";
    ?>

    ตัวอย่าง code Hello PHP



    รูปที่ 3 ตัวอย่างการแทรก code PHP

    2.4 บันทึกไฟล์ไว้ที่โฟเดอ D:\Appserv\www\lesson1 ชื่อ hello_php.php ครับ


    รูปที่ 4 แสดงการบันทึกไฟล์




    รูปที่ 5 แสดงการบันทึกไฟล์เสร็จแล้ว

    2.5 รัน script โดยเปิด Browser แล้ว พิพม์ localhost/lesson1/hello_php.php ในช่อง Address bar แล้วกด Enter เพื่อแสดงผล
    หากท่านใดไม่แสดง คำว่า Hello PHP แสดงว่า มีอะไรผิดพลาดซักอย่างนะครับ ให้ลองไล่ๆดูตามขั้นตอนที่ผ่านมานะครับว่าขาดตรงไหนบ้างหรือเปล่า



    รูปที่ 6 แสดงผล Hello PHP
    3.ทำความเข้าใจกับ PHP เบื้องต้น

    <?
    echo"Hello PHP";
    ?>

    จากตัวอย่างข้างบน เราจะเห็นคำสั่ง echo"Hello PHP"; ที่เป็นคำสั่งแสดงผลข้อความ หรือตัวแปรที่เรากำหนด ทำหน้าที่เหมือนกับ print  และหากท่านต้องการแสดงคำอื่นที่นอกเหนือจาก Hello PHP ก็สามารถเปลี่ยนได้ เช่น echo "Hello Window XP"; อย่างนี้เป็นต้นนะครับ แล้วอย่าลืมใช้ ; เพื่อเป็นการสิ้นสุดคำสั่งของแต่ละบรรทัดด้วย แล้วก็อย่าลืมลอง echo หลายๆบรรทัดเพื่อทำความเข้าใจในการทำงาน และฝึกการใช้เครื่องมือในการเปิด และบันทึก เพื่อให้เกิดความเคยชิน จะได้ไม่ลืม

    <?
    echo"Hello PHP";
    echo"Hello Window XP";
    echo"Hello Window Vista";
    echo"Hello Window 7";
    ?>


    เริ่มต้นการเขียนภาษา PHP





    ความรู้ที่ได้รับ 
                    1.ได้รู้จักประวัติความเป็นมา และความหมายของภาษา PHP
                    2.ได้รู้จักลักษณะของ Code ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา PHP
                    3.ได้เรียนรู้วิธีการใช้งานของภาษา PHP